ชมรมจักรยานเทศบาลตำบลหนองจ๊อม
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  
 

Asia Tour

   Vietnam Tours                                        Cambodia Tours                                China Tours                                   Indonesia Tours                            

  
     รูปภาพ        ชมรมจักรยานคณะเกษตร    ชมรมจักรยานแห่งประเทศไทย      ชมรมจักรยานสามพราม    

                                                                                                                 Myanmar Tours                                              Malaysia Tours


  ชมรมจักรยานจังหวัดเชียงใหม่                          ชมรมจักรยาน นครสวรรค์                          


          Thailand Tours Thailand Tours                            Vietnam Tours Vietnam Tours                                Cambodia Tours Cambodia Tours
 Thailand Tours   Vietnam Tours   Cambodia Tours 
วิเคราะห์ศัพท์                         ศิลปะ  --  ผีมือ  (เทคนิค วิธีการ  การปฏิบัติ)                    

     บริหาร  --  ดำเนินการ  จัดการ  (การดำเนินการเพื่อให้บรรลุภารกิจ)                    

     หัวหน้างาน  --  ทุกตำแหน่งที่มีคำว่า   หัวหน้า  หรือ  ผู้อำนวยการ                                                                                                                      -- 

 หรือชื่อตำแหน่งอื่นที่มี  ลูกน้อง สรุปเป็น         ฝีมือการจัดการงานของหัวหน้างาน  หรือ 

 เทคนิควิธีการบริหารงานของหัวหน้างาน 

หัวข้อบรรยาย     .  ความหมายและหัวใจของการบริหารงาน
                                . เทคนิควิธีการปฏิบัติต่อ  คน” 
                             

   . เทคนิควิธีการปฏิบัติต่อ  งาน                              

  . เทคนิควิธีการปฏิบัติต่อ  เวลา                          

    ๕. เทคนิควิธีการปฏิบัติต่อ  ทรัพยากร                              

  ๖. สรุป ความหมายและหัวใจของการบริหารงาน                        

 - การบริหารงาน  คือ  วิธีการใช้  คน  เงิน  เวลา  ทรัพยากร  ที่มีอยู่  เพื่อปฏิบัติภารกิจของหน่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด                         - “คน  เป็นสิ่งสำคัญที่สุด  หากบริหาร  คน  ได้  คนก็จะช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่                         - “ใจ  เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของ  คน  หาก  ครองใจ  ได้  ก็จะ  ครองคน  ได้                         - จะ  ครองใจ  คนได้  ต้อง  จริงใจ  กับเขาก่อน                         - จะ  จริงใจ  กับผู้อื่นได้  ต้อง  จริงใจ  กับตัวเองก่อน                         - เวลา  --  เป็นปัจจัยกำหนดความสมบูรณ์ของงาน  และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ควบคุมการปฏิบัติงาน                         - ทรัพยากร  --  วัสดุอุปกรณ์ทั้งมวลที่เกี่ยวข้องในการทำงาน  เช่น  รถยนต์  น้ำมัน  คอมพิวเตอร์  ฯลฯ เทคนิควิธีการปฏิบัติต่อ  คน                         - แบ่งเป็น    พวก  คือ  .  ตัวเรา  . นาย  . ลูกน้อง  . ระดับเดียวกัน                         - ในขณะที่เราเป็น  หัวหน้า  เราก็เป็น  ลูกน้อง  ของ  นาย                         - เราอยากมี  นาย  ที่ดี  ลูกน้องเราก็อยากมีเหมือนกัน                         - เราไม่ชอบ  นาย  แบบไหน  ลูกน้องเราก็ไม่ชอบเหมือนกัน.  การปฏิบัติต่อตนเอง                       -  ยึดคติเตือนใจที่ดีและพยายามปฏิบัติให้ได้ตามนั้น -- บุคคลสำคัญ  ทางโลก - ทางธรรม
                             - ปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างในเรื่องที่คนทั่วไปมักจะปฏิบัติย่อหย่อน เช่น
                                * การแต่งกายถูกระเบียบ  การทำความเคารพ                                * การตรงต่อเวลาในการเข้าทำงานเช้า พักกลางวัน และเวลากลับบ้าน                                 * การไม่ใช้โทรศัพท์ราชการติดต่อเรื่องส่วนตัว                                 * การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของโต๊ะทำงาน                                 * การประหยัดไฟฟ้าด้วยการปิด - เปิดไฟ/เครื่องปรับอากาศ ตามเวลาที่กำหนด                                 * การไม่กู้หนี้ยืมสิน ไม่เล่นหวยใต้ดินในที่ทำงาน                                 * ไม่สวมรองเท้าแตะนั่งทำงาน หรือเดินออกนอกโต๊ะทำงาน                         - สร้างความสัมพันธ์อันดีกับหน้าห้องผู้บังคับบัญชาทุกระดับที่หนังสือจะต้องผ่าน                         - มีของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ ทุกคนในหน่วย เมื่อถึงวันเกิดหรือเทศกาลปีใหม่                         - ใช้หลักธรรมะในการปฏิบัติงาน ที่ใช้ประจำได้แก่                                * เราจะให้อภัย ไม่โกรธ ไม่หงุดหงิด ไม่อึดอัดขัดเคืองผู้ใด  หรือเรื่องใด                                * เราจะช่วยเหลือผู้อื่นตามหน้าที่  กำลัง  และโอกาสที่จะพึงทำได้                                * เขามีส่วนเลวบ้างช่างหัวเขา จงเลือกเอาส่วนที่ดีเขามีอยู่  เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู  ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย  จะหาคนมีดีโดยส่วนเดียว  อย่ามัวเที่ยวมองหาสหายเอ๋ย  เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย  ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง                                * กรรมบท ๑๐ ได้แก่  กาย    (ไม่ฆ่าสัตว์  ไม่ลักทรัพย์  ไม่ประพฤติผิดในกาม)  วาจา 
(ไม่พูดปด  ไม่พูดหยาบ  ไม่พูดส่อเสียด  ไม่พูดเพ้อเจ้อ)  ใจ    (ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ผู้อื่นโลภะ  ไม่ผูกอาฆาตโทสะ  มีความเห็นถูกต้องโมหะ)
                                * แก้ที่คนอื่นยาก ต้องแก้ที่ใจเรา                         - ตั้งใจที่จะพัฒนาจิตใจตนเองให้มีจริยธรรมคุณธรรมและศีลธรรมยิ่ง ๆ  ขึ้น  โดยเฉพาะเวลาขับรถ  ใช้เป็นโอกาสในการพัฒนาจิตใจได้มาก  ไม่ปล่อยใจไปตามกระแสสังคมซึ่งต้องเอาตัวรอด  ขอไปก่อน  ขอไปเร็ว  ไม่มีน้ำใจให้กัน                      - รับการแสดงการเคารพของผู้อื่นด้วยความเคารพ ยิ้มแย้มแจ่มใส โค้งตอบเมื่อเขาเงยหน้าแล้ว                    -   ไม่รับสินบนหรือของกำนัลในลักษณะสินบนจากบุคคลอื่น.  การปฏิบัติต่อนาย                         - ซื่อสัตย์ จริงใจต่อนายและลูกน้อง  ถือหลัก รายงาน นาย ทุกเรื่อง  กระจายข่าวสารให้ลูกน้องทราบ  แลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อนร่วมงาน                   - รายงานเรื่องที่ทำการแทนนาย ทันที่ที่ท่านกลับมา หรือเขียนโน้ตทิ้งไว้บนโต๊ะนาย                         - เมื่อนายเหนือขึ้นไปเรียกนายเรา  ช่วยคิดและคาดเดาว่าจะเป็นเรื่องอะไร เสนอแฟ้มอะไรขึ้นไปหรือสอบถามหน้าห้อง ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่นายเรา เอาเรื่องเดิมมาให้ท่านทบทวน เสนอแนะจุดที่คิดว่าน่าจะเป็นปัญหา และคำตอบหรือคำชี้แจงต่อผบช.                         - ไม่งอนหรือแสดงสีหน้าไม่พอใจนาย เมื่อนายใช้อารมณ์กับเรา                       - ไม่เถียงนายต่อหน้าผู้อื่น ใช้วิธีขออนุญาตชี้แจงเมื่อไม่มีคนอื่นแล้ว                       -   ไม่ต้องให้นายสั่งไปเสียทุกเรื่อง                       -   ไม่ก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของนาย                         - ไม่ทำหรือส่งเสริมหรือสนับสนุนให้นายทำในสิ่งที่ผิดศีลธรรม, คุณธรรม, จริยธรรม, ระเบียบ, ข้อบังคับ ตลอดจนกฎหมายบ้านเมือง                         - ไม่ประพฤติตนผิดศีลธรรม, จริยธรรม, ระเบียบ, ข้อบังคับ, กฎหมายบ้านเมือง จนมีเรื่องเดือนร้อนมาถึงนาย                         - ไม่ใช้หน้าที่และฐานะที่อยู่หน้าห้องนาย เพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่พวกพ้อง หรือคนในครอบครัวในทางที่ไม่สมควร                         - ไม่ตอบนายว่าไม่ทราบอยู่เสมอ ๆ ควรใช้คำพูดว่าขออนุญาตไปตรวจสอบก่อน                         - กล้าพูด กล้าถาม กล้าแสดงความคิดเห็นทุกเรื่อง อย่างตรงไปตรงมา                         - เสนอแนะนายในการดูแลสวัสดิการและความก้าวหน้าของเพื่อนร่วมงานและลูกน้อง                         - ทำใจให้พร้อมที่จะรองรับอารมณ์โกรธหรือถูกด่าว่า ถูกตำหนิจากนาย (บางคน) โดยไม่แสดงออกซึ่งความไม่พอใจ                         - ชี้แจงเหตุผลให้นายทราบเมื่อนายอารมณ์เย็นลงแล้ว                         - ริเริ่มวาดภาพล่วงหน้าเสมอ สมมุติว่าถ้าเราเป็นนายเราจะต้องไปไหน ทำอะไรบ้างในวันนี้และพรุ่งนี้  ควรจะต้องรับรู้หรือเตรียมการอย่างไรบ้าง แล้วเราก็เตรียมแบบนั้นให้นายโดยไม่ต้องรอให้นายสั่งก่อนจึงทำ.  การปฏิบัติต่อลูกน้อง                         - ให้ความเป็นธรรม  ไม่ลำเอียง  ให้ลูกน้องประจบด้วยงานไม่ให้ประจบสอพลอ                         - ใช้คำพูดที่ให้กำลังใจ  ไม่ทำให้เสียกำลังใจ                            - รักษาน้ำใจลูกน้องและเพื่อนร่วมงาน และ เช่น การแก้หนังสือ การรับประทานของว่าง                         - ให้ความเห็นใจต่อความจำเป็นส่วนตัวของแต่ละคน ถามทุกข์สุข ถามการเดินทางไป - กลับบ้าน เห็นใจไม่ใช้งานใกล้เวลากลับบ้าน                         - แม้ว่างานจะมากเพียงใด แต่ต้องไปเยี่ยมลูกน้องที่ป่วยเข้าโรงพยาบาลเสมอ  ดีใช้ ไข้รักษา                         - ใช้คนให้เหมาะกับงาน รู้ว่าใครถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร สั่งแล้วทำไม่ถูก ใคร่ครวญดูว่าเขาเข้าใจผิดหรือเราสั่งไม่ชัดเจน                         - พูดกับลูกน้องที่เกเร แบบสองต่อสอง สอบถามความจำเป็นส่วนตัว ขอให้คิดถึงส่วนรวมไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน ไม่ด่าว่าต่อหน้าคนอื่น                         - ไม่ตำหนิโดยออกชื่อบุคคลในที่ประชุม  ใช้วิธีเรียกมาคุยตามลำพัง                         - ไม่ทำลายบรรยากาศในสำนักงานด้วยการระบายอารมณ์ใส่ลูกน้อง                          - ขอโทษลูกน้องเสมอเมื่อความผิดพลาดนั้นเกิดจากเรา  ทำให้เขาต้องพิมพ์ใหม่  ทำใหม่                         - ให้เกียรติด้วยคำพูดต่อลูกน้องที่มีอายุมากกว่า แต่ไม่ให้เสียการปกครองตามวินัยพนักงาน                         - ลูกน้องปฏิบัติไม่ถูกไม่เหมาะสมด้วยเรื่องใด ไม่ต่อว่าทันที ดูที่ตัวเราก่อนว่าสั่งผิดหรือเปล่า พูดหรือเขียนไม่ชัดเจนหรือเปล่า ถ้าตรวจสอบแล้วเราไม่ผิด จะใช้วิธีสอนและอธิบายในสิ่งที่ถูกให้ฟัง                         - ไม่โทษลูกน้องเมื่อนายตำหนิ เนื่องจากเอกสารผิดพลาด  เพราะเราก็มีส่วนในการตรวจผ่านไป                        - ทำตัวเป็นครูและแม่ที่ดี  กล้าพูดกล้าสอน ไม่เป็นแม่ปู - ลูกปู ไม่กลัวลูกน้องไม่ชอบตัวเอง                         - สนับสนุนลูกน้องที่หารายได้พิเศษโดยสุจริต ไม่เบียดบังเวลาราชการจนเกินไป เช่น ช่วยซื้อของที่นำมาขายนอกเวลางาน ฯลฯ                         - กล่าวชมเชยและขอบคุณลูกน้องเสมอ ๆ                         - ดูแลให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงานของลูกน้องอย่างเพียงพอไม่สั่งงานอย่างเดียว                         - ใช้งานลูกน้องออกนอกหน่วย ให้ค่าอาหาร ค่าน้ำมันรถ  และใช้ในเส้นทางกลับบ้าน                         - ปกป้อง  สนับสนุน  ลูกน้องที่ดี
                         - ตักเตือน  ลงโทษ  ลูกน้องที่ทำผิด
                         - เสียสละให้ลูกน้องบ้าง  -- เงิน  เวลา                         - เลี้ยงลูกน้อง  ทั้งในและนอกสถานที่  ในโอกาส - เทศกาล  อันควร                         - พาลูกน้องไปเที่ยว พักผ่อน  ต่างจังหวัด  พร้อมครอบครัว  ในโอกาสอันควร                         - ไปร่วมงานส่วนตัวของลูกน้องตามโอกาสอันควร  เช่น  งานศพญาติ  งานบวช  งานแต่งงาน                         - มีอารมณ์ขันบ้าง  แต่ไม่พร่ำเพรื่อ  วางตัวให้สมกับเป็นหัวหน้า                         - สนับสนุนลูกน้องให้ก้าวหน้า  ไม่ดึงตัวไว้เพื่อช่วยงานของหน่วยตลอดไป                         - ไม่กู้ยืมเงินลูกน้อง  และไม่ให้ลูกน้องยืม  จะเสียการปกครอง  หาวิธีช่วยทางอื่น                         - วางตัวให้ลูกน้องรู้สึกว่า  เราเป็นทั้งนาย  พี่  เพื่อน  ครู  หรือพ่อแม่                         - เป็นผู้ทำให้ลูกน้องสามัคคีกัน  ไม่เป็นผู้แบ่งพวกเสียเอง                         - เป็นผู้ประสานรอยร้าวระหว่างลูกน้องที่บาดหมางกัน  ถึงแม้จะเกิดจากเรื่องส่วนตัวอย่าคิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของเขา                           - ต้องแก้ปัญหา  ไม่หนีปัญหา  กล้าตัดสินใจ  กล้ารับผิดชอบ  โดยเฉพาะเรื่องสำคัญที่อาจมีปัญหา  หรือเรื่องที่ไม่แน่ใจว่านายเหนือขึ้นไปจะเห็นด้วยหรือไม่  ต้องกล้าเซ็นเอง  ไม่ให้ลูกน้องทำการแทน                         - รู้หน้าที่ของตัวเอง  ไม่ต้องรอให้ลูกน้องมาขอร้อง  เช่น  การประสานงานระหว่างหน่วย                         - สั่งให้ลูกน้องทำงาน  นอกหน่วย  นอกเวลา  หรือวันหยุด  เราควรไปเยี่ยมเยียน  ให้กำลังใจ  กำกับดูแล  ซื้อของกินไปฝาก                         - ลูกน้องเข้าใหม่  ต้องปฐมนิเทศด้วยตัวเอง  และแต่งตั้งมอบหมายคนเก่าให้ทำหน้าที่พี่เลี้ยง                         - กล้าพูดในที่ประชุมเพื่อสนับสนุนลูกน้องให้ก้าวหน้า  หรือปกป้องลูกน้องให้ได้รับความเป็นธรรม  จากการพูดของผู้อื่น                         - ไม่ทำให้ลูกน้องเกิดความรู้สึกว่า  เราสนิทกับใครหรือชอบใครเป็นพิเศษ  ไม่ให้เกิดคำพูดว่าคนนั้นคนนี้เป็นเด็กนาย.  การปฏิบัติต่อหัวหน้าระดับเดียวกัน                         - ให้เกียรติ  ไม่ก้าวก่าย  ใช้  ประสาน  ขอความร่วมมือ                         - ไม่อิจฉา  ริษยา  ชิงดีชิงเด่น  แล้งน้ำใจ  เอาเปรียบ                         - จริงใจต่อกัน  ร่วมกันทำงานเป็นทีม  เพื่อความสำเร็จของหน่วยใหญ่                         - ส่งเสริมให้ลูกน้องสองหน่วยสามัคคีกัน  ให้มีน้ำใจต่อกัน  ไม่คิดว่างานใครงานมัน                         - แข่งกันทำงานให้ดี  ไม่แข่งกันเอาหน้า                      - หัวหน้ากับหัวหน้า  ถูกคอกันดี  ลูกน้องก็เป็นสุข  บรรยากาศการทำงานก็ดี                         - หัวหน้ากับหัวหน้า  ไม่ถูกกัน  ลูกน้องก็เป็นทุกข์  บรรยากาศการทำงานก็ตึงเครียด                      - นายของเรา  ก็พลอยลำบากใจ                      - จะใช้ลูกน้องของเขา  ควรบอกกล่าวกัน                                                                                             เทคนิควิธีการปฏิบัติต่อ  งาน                         - แบ่งเป็น  . งานทั่วไป  . งานเอกสาร  . งานการให้บริการผู้ป่วยและญาติ. งานทั่วไป                         - เป็นหัวหน้า  ต้องรู้ภารกิจ หน้าที่  และนโยบายของ  หน่วย/ผู้บังคับบัญชา                         - เป็นหัวหน้าเล็ก  ต้องรู้ลึก  แต่ไม่ต้องรู้หมด                         - เป็นหัวหน้าใหญ่  ต้องรู้หมด  แต่ไม่ต้องรู้ลึก                         - เรื่องต่าง ๆ  เกี่ยวกับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานอยู่  ที่  หัวหน้า  ควรรู้และมีเอกสารอยู่กับตัว (หรือควรจัดทำหากยังไม่มี)                                 . อัตราการจัดหน่วย  ตั้งแต่ระดับบนสุดถึงระดับหน่วยรองของเรา                                      . หน้าที่ของหน่วย  และหน้าที่ตามตำแหน่งต่าง ๆ  ที่มีระบุไว้อย่างเป็นทางการ                                     .  ปฏิทินการปฏิบัติงานในวงรอบปีงบประมาณของหน่วย                                      .  บัญชีบรรจุกำลังพลภายในหน่วย                                      .  หมายเลขโทรศัพท์ที่ทำงาน  ที่บ้าน  และมือถือ  ของผู้บังคับบัญชาของหน่วย  และของกำลังพลภายในหน่วย                                      .  ระเบียบปฏิบัติประจำ  (รปจ.)  ของหน่วย                                      .  ระเบียบของหน่วย เกี่ยวกับสิทธิและสวัสดิการที่เกี่ยวข้อง                         - บริหารจัดการ  โดยการ  สั่งการ  กำกับดูแล  ให้เป็นไปตามภารกิจหน้าที่ของหน่วยและของแต่ละคน                         - ยึด  หลักการ  ไม่ใช้  หลักกู  มีเอกสารแสดงได้                                                                                           - ทำตัวเป็น  เทรนเนอร์  สอนได้  ชกเองได้                         - ไม่หนีงาน  เช่น  ป่วย  มีธุระ  ในวันที่มีงานที่ไม่อยากทำ  หรือทำไม่ถนัด                         - ต้องดูแลให้มี  คน  และ  เครื่องมือ  ในการทำงาน  อย่างพอเพียง  ต้องกล้าเสนอแก้ไข ต้องกล้าขอนาย                         - กระตุ้นลูกน้องให้ตื่นตัวอยู่เสมอ                         - ใช้ทั้งพระเดชและพระคุณ --  เลื่อนตำแหน่ง  ให้ ๒ ขั้น  ตัดเงินเดือน  ทำทัณฑ์บน  ตักเตือน                         - เป็นหัวหน้าต้องกล้าคิด  กล้าพูด                         - มองภาพรวมอยู่เสมอ                                                                                            .  ทำตามหน้าที่ครบถ้วน  ถูกต้อง  ทันเวลา  แล้วหรือยัง                                                                                                  . มีวิธีทำให้เร็ว  ให้มาก  ให้สะดวก  กว่านี้ไหม                         - นึกถึง  ผู้ป่วย  เป็นหลัก  ทำอย่างไร  ที่จะช่วยให้เขาคลายทุกข์กายใจ  ได้เร็ว  ได้มาก  ได้สะดวก                       - หมั่นประชุมเป็นนิจ  รับฟังความคิดของลูกน้อง  แต่อย่าพูดนาน  พูดมากไม่เข้าเรื่อง  จนลูกน้องไม่มีเวลากลับไปทำงาน                         - ไม่  คิด  และ  พูดว่า  เขาก็ทำกันมายังงี้                         - คิดที่จะ  พัฒนา  หรือ  ปรับปรุง  งานให้ดีขึ้น  เร็วขึ้น  สมบูรณ์ขึ้น  อยู่เสมอ                      - ประสานงานด้วยวาจาให้มาก  เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ  ไม่ต้องทำหนังสือให้เสียเวลา  (ยกเว้นต้องการ หรือต้องมีเป็นหลักฐาน) . งานเอกสาร                         - ต้องมีสติ  จัดลำดับความเร่งด่วนของงาน                         - ต้องกระจายงาน  แบ่งงาน  แต่ไม่ใช่แบ่งไปหมด  ตัวเองรอเซ็นอย่างเดียว                         - ต้องควบคุมงานทั้งหมดของหน่วย  อย่าให้เสมียนหรือเจ้าหน้าที่ รับ - ส่ง หนังสือ เป็นคนคุม                         - เป็นหัวหน้า  ควรมีเอกสารอ้างอิง  หรือข้อมูลสำคัญ  ไว้ใกล้ตัว                         - ไม่หวงข้อมูลเก็บไว้รู้คนเดียวเพื่อทำให้ตัวเองเป็นคนสำคัญที่รู้เรื่องดี  --  เตรียมข้อมูลให้นายบ้าง  บอกให้ลูกน้องรู้บ้าง                         - ควรจัดทำแฟ้มนโยบาย ผบช.ไว้คอยเตือนตัวเอง                         - งานบางงาน  ลูกน้องไม่อยู่  หรือนายต้องการด่วน  ต้องลงมือทำเองได้                         - ไม่ซุกเรื่อง  ดองเรื่อง  ผลัดวันประกันพรุ่ง                         - เซ็นแล้วต้องรับผิดชอบ  ไม่โทษลูกน้องเมื่อนายตำหนิ  ให้อภัยลูกน้อง  ให้คำแนะนำ  เล่าให้ฟังเพื่อให้ช่วยกันระวังไม่ให้เราถูกด่า  ไม่ใช่ด่าลูกน้องต่อ  (ควรด่าตัวเองด้วย)  ให้กำลังใจ  คนที่ไม่เคยทำผิด  คือคนที่ไม่เคยทำอะไร                         - ถ้านายชมยกความดีให้ลูกน้อง  บอกให้นายรู้ว่า  คนทำเริ่มต้นคือใคร  ใครกำกับดูแล                         - ไม่ว่าจะได้รับคำชมหรือคำตำหนิ  ควรประชุมชี้แจงหรือเวียนให้ลูกน้องทุกคนทราบทั่วกัน เพื่อเป็นกำลังใจ  หรือระวังไม่ทำให้หน่วยเราถูกตำหนิในเรื่องแบบเดียวกันนี้อีก  (ไม่ใช่ประจาน)                         - หน้าห้องนายแก้หนังสือเรา ถ้าเราผิดจริงยอมแก้โดยดุษณีและขอบคุณเขาที่ช่วยดูไม่โกรธ แต่ถ้าเขาผิด ขึ้นไปอธิบายให้ฟังหรือเขียนโน้ตชี้แจง ขออนุญาตยืนยันตามเดิมยกเว้นนายสั่งแก้                         - เรื่องด่วนที่สุด สำคัญจริง ๆ ต้องรู้วิธีลัดขั้นตอน ทั้งการเสนอเซ็น และการให้ม้าเร็วไปส่งหนังสือถึงตัวบุคคลหรือหน่วยที่จะต้องปฏิบัติ ไม่ยึดติดกับระเบียบปฏิบัติจนเกินไป                         - ให้เกียรติหน้าห้องนายในการตรวจแก้หนังสือ ถึงแม้เขาจะระดับต่ำกว่า ถือว่าเขาช่วยไม่ให้หนังสือของหน่วยผิดพลาด                         - เป็นหัวหน้า  ต้องร่างหนังสือเองได้  พิมพ์เองได้ยิ่งดี                           - ไม่แก้ร่างหนังสือของลูกน้องโดยฉีกทิ้งทั้งฉบับหรือร่างใหม่ทั้งหมด พยายามใช้กระดาษของเขาและข้อความของเขาให้มากที่สุด เพื่อรักษาน้ำใจและเสริมสร้างกำลังใจ                         - การแก้ร่างหนังสือไม่ใช้วิธีพูดอย่างเดียว   (แก้ด้วยปาก)  ว่าให้ไปปรับอย่างนั้นอย่างนี้ ลูกน้องจะอึดอัดและบ่นในใจว่าก็ผมคิดได้แค่นี้ จะให้แก้อย่างไรก็เขียนมาสิ  ควรลงมือแก้ในร่างของเขาเพื่อให้เขามีตัวอย่างเก็บไว้ดูด้วยว่าเราคิดอย่างไรเขียนอย่างไร                         - รีบทำเรื่องด่วนทันทีที่เห็นไม่รอให้ลูกน้องนำมาให้ตามขั้นตอน                         - เซ็นแฟ้มทันทีที่ลูกน้องนำมาวางไม่ให้เรื่องแช่อยู่ที่โต๊ะเรา                           - รีบแจ้งเรื่องสำคัญเร่งด่วน ที่เกี่ยวข้องกับกำหนดการปฏิบัติของนาย ให้หน้าห้องทราบในชั้นต้นก่อน แล้วจึงทำงานหนังสือ . งานการให้บริการผู้ป่วยและญาติ                         - กระตุ้นจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักว่า  เราจะทำงานเพื่อผู้ป่วย  เป็นหลักสำคัญกว่า ไม่ใช่  ทำงานเพื่อความก้าวหน้าของตัวเอง                         - คิดอยู่เสมอว่า  ถ้าไม่มีเขา  ก็ไม่มีเรา                         - คิดเสียว่าสงสาร                         - คิดว่าเป็น  พ่อ  แม่  พี่น้อง  ของเรา                         - เน้นการต้อนรับ  การพูด  การอดกลั้น                         - ไม่ทำตัวให้ผู้ป่วยและญาติรู้สึกว่า  เรา  เป็น  เจ้านาย                         - คนไม่ดีย่อมมีอยู่ทุกวงการ  ต้องพยายามทำใจ  ไม่เหมารวม เทคนิควิธีการปฏิบัติต่อ  เวลา                         - เวลาแล้วเสร็จที่หน่วยเหนือกำหนด  แบ่งเป็น    ส่วน  เราใช้ไม่เกิน    ส่วน  ให้ลูกน้อง    ส่วน                         - จัดลำดับงานตามความเร่งด่วนของเวลา                         - ปรับลำดับงานอยู่เสมอเมื่อมีงานใหม่เข้ามา  ไม่ใช่ทำตามคิวโดยไม่พิจารณาความสำคัญเร่งด่วน                         - ใช้เวลาเป็นเครื่องมือควบคุมการปฏิบัติงานของลูกน้อง                         - แบ่งเวลาให้ลูกน้องอย่างเหมาะสม                         - เรื่องที่ต้องใช้ความคิดพิจารณา  ควรทำตอนเช้าซึ่งเป็นเวลาที่สมองปลอดโปร่งแจ่มใส                         - ทำปฏิทินการปฏิบัติงานของหน่วยในรอบ เดือน/ปี                         - ใช้ตารางนัดหมายหรือปฏิทินช่วยจำบนไวท์บอร์ด  เป็นเครื่องช่วยบันทึกเวลาการปฏิบัติงานต่าง ๆ                         - บางครั้งต้องใช้เวลาส่วนตัวทำงานให้ราชการ  โดยนำงานกลับไปทำที่บ้านตอนกลางคืนหรือในวันหยุด เทคนิควิธีการปฏิบัติต่อ  ทรัพยากร                         - สำรวจเครื่องมือเครื่องใช้ว่ามีครบตามอัตราที่กำหนดหรือไม่                         - เบิกให้ครบ  ส่งซ่อม  ขอจัดหาเพิ่มเติม                         - ใช้คอมพิวเตอร์และพริ้นเตอร์แบบรวมการ  เชื่อมต่อระบบ LAN                          - กำหนดผู้รับผิดชอบวัสดุอุปกรณ์แต่ละชิ้น  ติดป้าย                         - เบิกหมึกพิมพ์หรือวัสดุสิ้นเปลืองไว้ล่วงหน้า  หรือกำหนดเวลาเบิกให้ชัดเจน  ไม่รอให้ของหมดจึงเบิก                          - บางครั้งอาจต้องเสียสละเงินส่วนตัว  จัดหาวัสดุบางรายการ  เพื่อให้ลูกน้องมีของใช้                         - กระตุ้นจิตสำนึกทุกคนในหน่วยงาน  ให้ช่วยกัน  ประหยัด  ทรัพยากรทุกอย่าง                         - กระดาษที่ถ่ายเอกสารเสีย  หรือที่พิมพ์เสีย  นำมาใช้ร่างหนังสือ  หรือตัดทำกระดาษโน้ต                         - กำหนดลำดับความเร่งด่วนในการใช้ทรัพยากร  ตามลำดับความสำคัญเร่งด่วนของงาน  ไม่กำหนดตามความสำคัญของตัวบุคคล                         - นำของที่ใช้แล้วแต่ยังใช้ได้อีกกลับมาใช้ใหม่  เช่น  แฟ้มปกแข็ง - นำเอกสารข้างในออกใช้เชือกมัดไว้ หรือใส่กล่องใส่ตู้ สรุป                                          - การบริหารงาน  คือ  วิธีการใช้  คน  เงิน  เวลา  ทรัพยากร  ที่มีอยู่  เพื่อปฏิบัติภารกิจของหน่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด                         - “คน  เป็นสิ่งสำคัญที่สุด  หากบริหาร  คน  ได้  คนก็จะช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่                         - “ใจ  เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของ  คน  หาก  ครองใจ  ได้  ก็จะ  ครองคน  ได้                         - จะ  ครองใจ  คนได้  ต้อง  จริงใจ  กับเขาก่อน                         - จะ  จริงใจ  กับผู้อื่นได้  ต้อง  จริงใจ  กับตัวเองก่อน 
            Malaysia Tours Malaysia Tours                               China Tours China Tours                             Bali Indonesia Tours Bali Indonesia Tours
 Malaysia Tours   China Tours   Bali Indonesia Tours

Malaysia is not only about the vibrant fusion

of Malay, Indian and Chinese cultures; it is also about the beautiful beaches, soaring mountains and lush natural parks. PassionAsia compiles a great range of activities and things to do in Malaysia.

Advertising Zone    Close


Online: 1 Visits: 8,654 Today: 2 PageView/Month: 26

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...